มันคือสิ่งที่ถูกกำหนดมาเพื่อให้ทิศทางในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในแนวทางที่ตั้งไว้ โดยผ่านกระบวนการหาข้อมูลและวิเคราะห์ออกมาเป็นปัญหาที่แท้จริง เมื่อเรารู้แล้วว่าปัญหาคืออะไร เราจึงสามารถกำหนดกลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้
หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ นั้น สมมติว่าเป้าหมายเราคืออยากไปเที่ยวเหนือ แต่ปัญหาคืองบน้อย เราสามารถตั้งกลยุทธ์ได้ว่า "ทำอย่างไรให้ไปเหนือให้ได้โดยใช้งบน้อยที่สุด" วิธีการที่ได้ก็จะออกมาเป็น การนั่งไฟ การติดรถคนอื่น หรือการปั่นจักรยาน เป็นต้น เพราะถ้าหากไม่มีกลยุทธ์แล้ว วิธีการอาจจะผิดเพี้ยน กลายเป็นการนั่งเครื่องบิน หรือขับรถส่วนตัวก็เป็นได้
การกำหนดกลยุทธ์นั้นมี 5 ขั้นตอนด้วยกัน ในบางขั้นตอนคุณจำเป็นจะต้องหาข้อมูลจากภายนอกองค์กร และที่สำคัญคุณควรระวังข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะหากคุณได้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยนมาวิเคราะห์ คุณจะได้กลยุทธ์ที่นอกจากจะไม่ส่งผลดีแล้วอาจจะส่งผลร้ายกับหลายด้าน เพราะฉะนั้นอย่าลืมตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลให้ดี เพื่อทำให้มั่นใจว่าคุณจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง มาเริ่มขั้นตอนแรกกันเลย
สถานการณ์ของธุรกิจคุณเป็นอย่างไรบ้าง อะไรที่เราทำได้ดี และอะไรที่เราทำได้ไม่ดี อะไรที่ทำแล้วเวิร์ก อะไรที่ทำแล้วไม่เวิร์ก อะไรคือจุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ และอะไรคือปัญหาที่เรากำลังเผชิญ ข้อมูลส่วนนี้คุณสามารถหาได้จากภายในองค์กรของคุณเอง แนะนำอ่านต่อ SWOT Analysis
สถานการณ์ธุรกิจคุณต่อลูกค้าเป็นอย่างไรบ้าง คุณกำลังทำการตลาดกับตลาดไหน ขนาดของตลาดเป็นอย่างไร ส่วนแบ่งของตลาดเป็นอย่างไร กลุ่มลูกค้าแบบไหนที่ก่อให้เกิดรายได้ กลุ่มลูกค้าแบบไหนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ คุณเข้าใจลูกค้ามากแค่ไหน อะไรคือปัจจัยในการเลือกซื้อ พฤติกรรมลูกค้าคุณเป็นอย่างไร ข้อมูลส่วนนี้คุณจำเป็นต้องหาจากลูกค้า แนะนำให้อ่านต่อ 5 วิธีการหา "Customer Insight" เพื่อทำความเข้าใจลูกค้า
สถานการณ์ธุรกิจคุณกับคู่แข่งเป็นอย่างไรบ้าง คู่แข่งของคุณมีใครบ้าง คู่แข่งของคุณมีจุดแข็งจุดอ่อนอะไรบ้าง คู่แข่งของคุณกำลังทำอะไรหรือกำลังเดินเกมอย่างไร ข้อมูลส่วนนี้แนะนำให้ถามจากกลุ่มลูกค้าจริง ๆ ของคุณว่าพวกเขาเคยใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์ไหนแทนแบรนด์ของคุณหรือไม่ ซึ่งจะช่วยทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด แนะนำให้อ่านต่อ การวิเคราะห์คู่แข่งทางธุรกิจ
สถานการณ์ธุรกิจคุณกับคู่ค้าคุณเป็นอย่างไรบ้าง คุณใช้สินค้าหรือบริการจากใครบ้างในการดำเนินธุรกิจ คุณมีอำนาจการต่อรองมากน้อยเพียงใด ข้อมูลส่วนนี้สามารถหาได้จากภายในองค์กรของคุณ แนะนำให้อ่านต่อ Five Forces Model
สถานการณ์ธุรกิจคุณต่อปัจจัยปัจจัยระดับมหภาคเป็นอย่างไรบ้าง เช่น การเมือง กฏหมาย สังคม เทคโนโลยี หรือสิ่งแวดล้อม ข้อมูลส่วนนี้มาจากภายนอกองค์กร คุณสามารถหาข้อมูลได้จากการติดตามข่าว บุคคลสำคัญ หรือพูดคุยกับกลุ่มลูกค้า แนะนำอ่านต่อ PEST Analysis
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาแล้วคุณต้องระบุให้ได้ว่าส่วนไหนของข้อมูลเป็นปัญหาที่ปิดกั้นธุรกิจคุณไม่ให้เติบโตไปข้างหน้า คุณสามารถระบุปัญหาได้หลายปัญหาเท่าที่คุณสามารถทำได้ หลังจากนั่นค่อยนำปัญหาเหล่านั้นมาจัดลำดับความสำคัญว่าสิ่งใดควรทำก่อนหลัง หรือสิ่งใดคุ้มค่าในการทำมากกว่า เมื่อใดที่คุณรู้แล้วว่าปัญหาไหนจำเป็นต้องแก้ไขเป็นอันดับแรก เมื่อนั้นคุณจะสามารถระดมความคิดว่าวิธีการแบบไหนที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้
หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และเข้าใจได้ และอย่าสับสนระหว่างกลยุทธ์กับแผนงาน เพราะกลยุทธ์คือแนวทางการแก้ปัญหาที่แผนงานจะเข้าไปอยู่ในแนวทางนั้นอีกที หากมีคำถามหรือข้อโต้แย้งสามารถคอมเมนต์แลกเปลี่ยนกันได้เลย หากชอบคอนเทนต์แบบนี้ฝากกดแชร์เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังสนุกกับการทำธุรกิจแล้วเติบโตไปด้วยกัน
©Copyright 2024 by The Spidery. All rights reserved Privacy Policy