ตัวชี้วัดด้านการตลาดคืออะไร ?
มันคือผลลัพธ์จากสิ่งที่คุณทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการตลาดว่ามันประสบผลสำเร็จหรือไม่ มากหรือน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น การโฆษณาสินค้า ก็คือการทำการตลาดอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าคุณจะรู้ได้ว่าการโฆษณาสินค้าชิ้นนี้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด คุณสามารถใช้ตัวชี้วัดเป็นยอดขายของสินค้าตัวนั้นว่าเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด และนั่นจะทำให้เรารู้ได้ว่าการกระทำเรา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางใด
ประโยชน์ของการเข้าใจความหมายของตัวชี้วัด
1. ช่วยให้ไม่ตีความหมายของตัวชี้วัดผิดพลาด
หากคุณไม่เข้าใจเรื่องราวของสิ่งที่เกิดขึ้น อาจทำให้คุณตัดสินใจทำบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น หากคุณตัดสินว่าคนที่นอนเสียชีวิตพร้อมกับปืนในมือว่าเขาฆ่าตัวตาย คุณก็จะไม่พยายามหาคนร้ายมาลงโทษ ถ้าเรื่องจริงเป็นการจัดฉากให้ดูเหมือนเป็นการฆ่าตัวตาย คุณกำลังตัดสินใจทำสิ่งที่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา
2.เลือกใช้ตัวชี้วัดได้ถูกต้อง
เมื่อการตลาดนั้นมีตัวชี้วัดมากมายให้คุณได้เลือกใช้ คุณสามารถเลือกตัวชี้วัดที่ส่งผลต่อความสำเร็จของคุณจริง ๆ ได้ ทำให้คุณสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำให้ตัวชี้วัดของคุณดีขึ้น
3. ช่วยให้คุณรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
พอคุณเข้าใจตัวชี้วัดแล้ว เมื่อคุณเริ่มวัดผลสิ่งต่าง ๆ คุณก็จะเริ่มรับรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นที่ส่วนใหน และแก้ไขได้ถูกจุด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าธุรกิจคุณมีการตั้งตัวชี้วัดสำหรับผลกำไรในโฆษณาแต่ละตัว คุณก็สามารถรู้ได้ว่าคุณควรปรับปรุงโฆษณาตัวไหน เมื่อกำไรลดลง
ตัวชี้วัดด้านการตลาด
- Return on Investment (ROI) ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน
- Return on Marketing Investment (ROMI) ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนด้านการตลาด
- Return on Ad Spent (ROAS) ผลตอบแทนที่ได้จากค่าโฆษณา
- Sales growth เปอร์เซ็นต์การเติบโตของยอดขายจากการเทียบกันระหว่างเวลาที่กำหนด
- Revenue ยอดขายของสินค้าหรือบริการ
- Profit กำไรของการขายสินค้าหรือบริการ
- Market Share ส่วนแบ่งตลาด คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การขายของเราจากจำนวนการขายสินค้าประเภทเดียวกันทั้งหมด รวมคู่แข่งด้วย
- Brand Awareness การรับรู้แบรนด์ มาจากการที่ลูกค้ารู้จักหรือจดจำแบรนด์ได้ สามารถวัดได้หลายวิธีในหลายช่องทาง
- Share of voice (SOV) การพูดถึงแบรนด์ มาจากกลุ่มลูกค้าที่พูดถึงเราบนช่องทางต่าง ๆ
- Satisfaction Score คะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจจากลูกค้าในสินค้าหรือบริการของคุณ
- Net Promoter Score คะแนนเฉลี่ยของความยินดีที่ลูกค้าจะบอกต่อสินค้าหรือบริการของคุณให้กับคนอื่น
- Conversion คอนเวอร์ชั่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ สามารถเป็นจำนวนการขาย จำนวนการติดต่อ
- Conversion Value มูลค่าของคอนเวอร์ชั่น โดยปกติแล้วจะเป็นมูลค่าของจำนวนเงินจากการซื้อ ว่าเป็นมูลค่ากี่บาท
- Cost Per Action(CPA) ต้นทุนเฉลี่ยต่อผลลัพธ์ที่เราต้องการให้ลูกค้าทำ ขึ้นอยู่กับว่าเรากำหนดสิ่งนั้นว่าเป็นอะไร เช่น ต้นทุนเฉลี่ยต่อการซื้อ ต้นทุนเฉลี่ยต่อการติดต่อ
- Reach การเข้าถึง การที่แคมเปญของเราถูกแสดงให้คนเห็นเป็นจำนวนกี่คน
- Impression การแสดงผล การที่แคมเปญของเราถูกแสดงให้คนเห็นเป็นจำนวนกี่ครั้ง(1 คนสามารถถูกแสดงให้เห็นแคมเปญได้หลายครั้ง)
- Frequency ความถี่เฉลี่ย คนหนึ่งคนเห็นแคมเปญของคุณเป็นจำนวนกี่ครั้ง
- Video Views จำนวนการรับชมวีดีโอ (ในเวลาที่กำหนด)
- Click-Through Rate (CTR) ค่าเฉลี่ยในการคลิก จำนวนเปอร์เซ็นต์ของคนคลิกหลังจากที่เห็นแคมเปญ
- Engagement การมีส่วนร่วมกับแบรนด์บนช่องทางทาง ๆ
- Lead Generation จำนวนลูกค้าที่กรอกข้อมูลมาเพื่อติดต่อธุรกิจคุณ
- Lead score คุณภาพของลูกค้า การให้คะแนนลูกค้าแต่ละรายว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะปิดการขายได้จริง
แต่ละตัวชี้วัดต้องใช้เครื่องมือในการวัดผลไม่เหมือนกัน เช่น การทำแบบสอบถาม การใช้ Social Listening Tools หรือการใช้ Google Analytics เป็นต้น และอย่าลืมว่า "ถ้าคุณไม่สามารถวัดผล คุณก็ไม่สามารถพัฒนา" หากชอบคอนเทนต์แบบนี้ฝากกดแชร์เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังสนุกกับการทำธุรกิจแล้วเติบโตไปด้วยกัน
แนะนำอ่านต่อ 4 ตัวชี้วัดความเป็นความตายของของธุรกิจที่ไม่ได้รวมในบทความนี้ แต่สำคัญมาก ๆ ไม่แพ้กันเลยีเดียว