หากคุณเป็นธุรกิจที่เป็นสินค้าใช้แล้วหมดไป หรือบริการที่ลูกค้าจำเป็นต้องใช้ซ้ำอยู่บ่อย ๆ การนำ Loyalty Program เข้ามาใช้ในการทำการตลาดก็เป็นเรื่องที่ดี หากธุรกิจคุณต้องการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว และสร้างความแตกต่างจากธุรกิจคู่แข่ง บทความนี้จะอธิบาย Loyalty Program และยกตัวอย่างทั้งหมด 10 แบบให้เห็นภาพ
การใช้รางวัลหรือข้อเสนอต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์ในการกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำจากแบรนด์เรา แทนที่จะเลือกซื้อจากคู่แข่ง
ไม่ว่าจะเป็นการให้รางวัลหรือข้อเสนอแบบไหน ส่วนใหญ่แล้วเป้าหมายของการทำ Loyalty Program คือการสร้างรายได้กับลูกค้าเก่าในระยะยาว แต่การทำ Loyalty Program แต่ละแบบทำงานไม่เหมือนกัน
ยกตัวอย่าง บัตรสะสมแต้มของปั๊มน้ำมันน้ำมันต่าง ๆ ซึ่งเมื่อลูกค้าใช้จ่ายตามยอดที่กำหนดจะได้แต้มมาสะสมอยู่ในบัตรนั้น ๆ เมื่อแต้มครบจำนวนที่กำหนดแล้ว สามารถใช้เป็นส่วนลดในค่าใช้จ่ายจากการเติมน้ำมัน ถ้าให้มองไปที่ตัวสินค้าแล้ว น้ำมันอาจจะไม่สามารถที่จะแตกต่างกันได้มากนัก การนำโปรแกรมนี้มาใช้ก็จะช่วยให้ลูกค้ามองหาแต่แบรนด์เราเท่านั้นเพื่อสะสมแต้มเป็นส่วนลดต่อไป
ยกตัวอย่าง AIS เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่แบ่งประเภทลูกค้าจากระยะเวลาการใช้งาน(เป็นลูกค้ามานานแค่ไหน) และยอดการใช้จ่ายแต่ละเดือน ซึ่งลูกค้าที่อยู่มานาน หรือยอดใช้จ่ายสูง ก็จะถูกจัดอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ในแต่ละดับนั้นก็จะได้สิทธิพิเศษไม่เหมือนกัน ยิ่งระดับสูงก็จะยิ่งได้สิทธิพิเศษมาก สิ่งนี้ทำให้ลูกค้าเลือกที่จะอยู่กับแบรนด์ เนื่องจากไม่อยากย้ายไปค่ายอื่น ที่ทำให้เสียสิทธิพิเศษต่าง ๆ และต้องไปสะสมระยะเวลาการเป็นลูกค้าเพื่อจะได้รับสิทธิพิเศษ
ถ้าธุรกิจคุณมีเป้าหมายทางสังคมที่ชัดเจน ลองดูตัวอย่างจาก Ben & Jerry’s แบรนด์ไอศกรีมซุปเปอร์พรีเมียมและเชอร์เบตที่บริจาคให้กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เกี่ยวข้องกับสัตว์โลก สภาพแวดล้อมและสังคม จากส่วนแบ่งของยอดขายที่พวกเขาทำได้ ช่วยให้กลุ่มลูกค้าที่ให้คุณค่ากับโลก สิ่งแวดล้อม และสังคมหันมาช่วยอุดหนุนสินค้าของทางแบรนด์อยู่เรื่อย ๆ
ตัวอย่างสายการบิน Azerbaijan Airlines ที่มอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้กับลูกค้าที่ใช้จ่ายถึงยอดที่กำหนด ในเวลาอันสั้น เพื่อแลกกับการใช้บริการต่าง ๆ ของสายการบิน
ยกตัวอย่าง starbucks ที่ใช้แอปพลิเคชันของตัวเองในการกระตุ้นให้ลูกค้าทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตัวเองกำหนด เช่น การจ่ายเงินผ่านแอพ การเข้าร้านครบ 4 ครั้ง ซึ่งการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่เขากำหนดนั้น ตัวลูกค้าก็จะได้สิ่งตอบแทนเป็นดาว หรือคล้าย ๆ แต้ม เพื่อนำไปแลกเป็นกาแฟ แซนวิช หรือแก้วน้ำ สิ่งเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับทางแบรนด์มากขึ้น
ตัวอย่างแบรนด์ Gift Wellness ที่ให้ลูกค้าสั่งผ้าอนามัยแบบรายเดือนได้ โดยการสั่งเพียงครั้งเดียว แต่ทางแบรนด์จะจัดส่งให้ทุกเดือน พร้อมกับให้ส่วนลดกับลูกค้าที่สั่งรายเดือน 10% เทียบกับลูกค้าที่สั่งเป็นบางครั้งจะไม่ได้รับส่วนลดใด ๆ
ยกตัวอย่างแบรนด์ Sephora เมื่อลูกค้าซื้อสินค้า ลูกค้าจะมีสิทธิ์เข้าร่วมชุมชน ทางแบรนด์ Sephora นั้นจำหน่ายเครื่องสำอาง ดังนั้นชุมชนก็จะเป็นกลุ่มสาว ๆ ที่คอยแบ่งปันเทคนิคการแต่งหน้าต่าง ๆ เมื่อพวกเขาได้อยู่ในชุมชนที่แบรนด์สร้างขึ้นแล้ว เขาก็จะมีประสบการณ์เชิงบวกกับทางแบรนด์ซึ่งทำให้ครั้งต่อ ๆ ไปนั้นเกิดการซื้อสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง Dropbox โปรแกรมเก็บข้อมูลออนไลน์ ถ้าหากคุณมีสมาชิก Dropbox แล้วล่ะก็ คุณสามารถแนะนำเพื่อน ๆ มาใช้งานได้ โดยสิ่งที่คุณจะได้รับเป็นการตอบแทนนั้นก็คือพื้นที่ในการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นกว่าเดิม นั่นทำให้คุณได้ใช้งานได้มากขึ้นและนานขึ้น ทาง Dropbox ก็จะได้ลูกค้าใหม่ ซึ่งลูกค้าและแบรนด์เองก็ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย
9. จ่ายค่าสมาชิก (Paid programs)
ยกตัวอย่าง Amazon โดยปกติแล้วถ้าคุณสั่งของจาก Amazon คุณก็จะต้องเสียค่าส่งแยกตามปกติ แต่ถ้าคุณยอมจ่ายค่าสมาชิก Amazon Prime ประมาณ 400 บาท/เดือน คุณจะได้สิทธิประโยชน์มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นส่งฟรี ส่วนลดต่าง ๆ และอื่น ๆ อีกมากมาย
10. เงินคืน (Cashback programs)
ยกตัวอย่างบัตรเครติดแต่ละธนาคาร เวลาคุณใช้จ่ายถึงยอดที่กำหนดแล้ว ธนาคารก็จะให้เงินคืนตามจำนวนที่กำหมด ส่วนนี้ก็จะกระตุ้นให้คนใช้จ่ายมากขึ้น เมื่อใช้จ่ายมากขึ้นธนาคารก็จะมีโอกาสที่จะได้ดอกเบี้ยจากเงินที่คงค้าง
และทั้งหมดนี้ก็คือ 10 ประเภทของ Loyalty Program หากมีคำถามหรือข้อโต้แย้งสามารถคอมเมนต์แลกเปลี่ยนกันได้เลย หากชอบคอนเทนต์แบบนี้ฝากกดแชร์เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังสนุกกับการทำธุรกิจแล้วเติบโตไปด้วยกัน
แหล่งที่มา : Zendesk
©Copyright 2024 by The Spidery. All rights reserved Privacy Policy